วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

มารยาทของการใช้อินเทอร์เน็ต

จากปัญหาการล่อลวงอันเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมเพื่อลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยืดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ  ดังนี้

          1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผบแพร่รูปภาพลามาอนาจาร 
          2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
          3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
          4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
          5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
          6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
          7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
          8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
          9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
          10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบัน หรือสังคมนั้นๆ

การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท

          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล  (electronic mail or e-mail) เป็นบริการท่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับบุคคลอื่นๆได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆนอกจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง แนบไปได้อีกด้วย
          การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
          สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น



          เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือ เซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้

      1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยบริการที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่น www.thaimail.com    www.hotmail.com
      2) พ๊อปเมล (POP Mail) เป็นบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมพ๊อปเมลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Outlook, Windows Mail, Netscape Mail เป็นต้น

          2. การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocal : FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่า เครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
              การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลมีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ
              1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
              2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)
   
         3. การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต แบ่งเป็น 2 รูปแบบดังนี้
    1) การสนทนาเป็นกลุ่ม เป็นการสนทนาโยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อสนทนาต่างๆให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเช่น www.sanook.com  www.pantip.com เป็นต้น
    2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging) ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆได้โดยตรง การสนทนาทำได้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชันและลูกเล่นต่างๆที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โปรแกรมที่นิยทใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MSN Messenger, AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger

          4. บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลในอดีตจะต้องเดินทางไปห้องสมุดเพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนห้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้นการสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นอาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย โดยวิธีที่ดีที่สุดคือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดังนี้
               1) เว็บไซต์ที่มรเครื่องมือหรือโปรแกรมค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญเพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหา ข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ โปรแกรมค้นหาข้อมูบส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ เช่น www.google.com   www.bing.com   www.search.com

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up Connection) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อมีดังนี้
          1. เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการรับส่งข้อมูล
          2. เว็บเบราเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (HyperText Markup Language) และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
          3. หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์ สำหรับเป้นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการต่อเชื่อม
          4. โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปดิจิตอล (digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบอนาล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบอนาล็อกให้เป็นดิจิตอล
          5. บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้ออินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูปโดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่อยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ เป็นต้น
               การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์มีข้อดีคือ สะดวกและมีค่าใช้จ่ายต่ำ แต่ก็มีข้อจำกัดด้านความเร็ว และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

   เครือข่ายอินเทอร์เรน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้นจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโตคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเรียกว่า ทรานมิสชันคอนโทรโปรโตคอล / อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocal / Internet Protocal) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
       อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหาย ระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง(Packet-Switching Network) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆหรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆอ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปเครื่องหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง
       หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยากถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพีเพื่อช่วยในการจำ เรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อ และโดเมน

ความหมายของอินเทอร์เน็ต


 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันบริการอิเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมความรู้ทุกด้าน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ตั้งแต่การเรียน การทำงาน การซื้อขายสินค้า ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ของคนในสังคม

    ความหมายของอินเทอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ต (Internet : Interconnection Network) หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งก็คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายอาจจะจ่างชนิดหรือต่างขนาดกันก็สามารถสื่อสารกันได้ และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายในเรือข่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น

   พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
       การศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน การศึกษาประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร ประโยชน์ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตได้เป็นอย่างดี

             1.) อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ. 1999 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA) ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรืออาร์พาเน็ต (arpanet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส มหาวิทยาสัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และสถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
          อาร์พาเน็ตแบ่งเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง และเครือข่ายของกองทัพ โดยในช่วงต้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่สำคัญในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต และทำให้เกิดการขยายเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้ถูดเรียกว่า อินเทอร์เน็ต (internet) และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
          ปัจจุบันเครือข่านอินเทอร์เน็ตถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง และได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในลักษณะของ เครือข่ายอินทราเน็ต (intranet) และเครือข่ายเอ็กทราเน็ต (extranet) อีกด้วย
    

   
    2.) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว
                ปี พ.ศ. 2535 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่าเครือข่ายไทยสาร โดยนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
               ปี พ.ศ. 2536 ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
               ปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้




ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ เด็กหญิงชนิกานต์    บุญเจริญ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 เลขที่ 17

ชื่อเล่น  ทราย

วันเกิด  14 พฤศจิกายน  พ.ศ.2542

อายุ 13 ปี

สีที่ชอบ เขียว ชมพู 

งานอดิเรก  อ่านหนังสือการ์ตูน,ฟังเพลง


Facebook Chanikan   Booncharoen



วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556






ความชอบส่วนตัว



              

โตโตโร่ เพื่อนรัก 


         เรื่องเริ่มต้นที่เด็กผู้หญิงสองคน ซะสึกิ และ เม ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ในแถบชนบทกับพ่อ เพื่อที่จะให้ใกล้กับโรงพยาบาลที่แม่ของพวกเธอนอนรักษาตัวอยู่ ซะสึกิและเมได้ค้นพบว่า ในป่าข้างบ้านมี โทโทโระ สัตว์วิเศษผู้พิทักษ์ป่าอาศัยอยู่ และต่อมาได้กลายเป็นเพื่อนกัน และเรื่องราวมหัศจรรย์สนุก ๆ ก็ได้เกิดขึ้นมากมาย




ตัวอย่างภาพยนตร์ 





ข้อมูลทั่วไป
โทโทโร่เพื่อนรัก (เป็นอะนิเมะที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเรื่องหนึ่ง ของผู้กำกับฮะยะโอะ มิยะซะกิ ภายใต้การผลิตของสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ค่ายผลิตภาพยนตร์การ์ตูนคุณภาพของโลกค่ายหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตคนญี่ปุ่นในยุคราว พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เนื้อหาของเรื่อง โทโทโร่เพื่อนรัก เป็นเรื่องราวที่สอนให้เด็กมีความรับผิดชอบ ขยันขันแข็ง และรักธรรมชาติ ภาพยนตร์ชุดนี้ ได้จัดทำเป็นระบบ VHS และเลเซอร์ดิสก์ในสหรัฐอเมริกาโดยโทคุมะเจแปน คอมูนิเคชั่น ของสาขาย่อยสหรัฐอเมริกา โดยให้ชื่อเรื่องว่า My Neighbor Totoro[1] และภาพยนตร์ชุดดังกล่าวได้รับการนำเสนออีกครั้งโดยดิสนีย์ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2006 [2]
มีคนเคยถามว่ามิยะซะกิ จะทำภาคต่อของโทโทโร่เพื่อนรักหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ "ไม่" เพราะ Totoro เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของเด็กทั้ง 2 คนเพื่อชดเชยกับการต้องอยู่ห่างแม่เท่านั้น ในช่วงเครดิตท้ายเรื่องของหนังเมื่อ แม่ของทั้งคู่สามารถกลับมารักษาตัวที่บ้านได้ก็ไม่ได้มีตัวโทโทโระปรากฏขึ้นมาอีกเลย แต่จนแล้วจนรอดมิยะซะกิก็ทำ "ภาคต่อ" ของโทโทโร่เพื่อนรักจนได้ หากแต่อยู่ในรูปของ ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นในชื่อ "เมกับรถบัสแมว" แต่หนังเรื่องนี้มีฉายให้ดูเฉพาะที่พิพิธภัณฑ์จิบลิเท่านั้น





ตัวละคร 





ซะสึกิ คุซะกะเบะ



เม คุซะกะเบะ



                                 ทะสึโอะ คุซะกะเบะ


โทโทโร่


 รถบัสแมว



ยะซุโกะ คุซะกะเบะ


คันตะ โอะกะงิ